กวาวเครือขาว

ชื่อสมุนไพร

กวาวเครือขาว

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pueraria candollei var. mirifica

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • การบรรเทาอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน มีงานวิจัย 9 การศึกษาในสตรีวัยหมดประจำเดือน จำนวน 309 คน รับประทานกวาวเครือขาว ขนาด 20-200 มก.ต่อวัน อย่างน้อย 2 เดือน พบว่า อาจช่วยบรรเทาอาการของสตรีวัยหมดประจำเดือน

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • การลดไขมันในเลือด มีงานวิจัยในสตรีวัยหมดประจำเดือน จำนวน 71 คน รับประทานกวาวเครือขาว ขนาด 20-50 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 6 เดือน พบว่า เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ และไม่มีผลเพิ่มไขมันดี (HDL) และไม่มีผลลดระดับไขมันชนิดอื่น

           *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ไม่แนะนำให้ใช้สำหรับเพิ่มขนาดเต้านม เพราะเป็นผลจากผลข้างเคียงของสมุนไพร และอาจทำให้เกิดอันตรายได้
This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Kongkaew C, Scholfield NC, Dhippayom T, Dilokthornsakul P, Saokaew S, Chaiyakunapruk N. Efficacy and safety of Pueraria candollei var. mirifica (Airy Shaw & Suvat.) Niyomdham for menopausal women: A systematic review of clinical trials and the way forward. J Ethnopharmacol. 2018;216:162-74.
  2. Manonai J, Chittacharoen A, Udomsubpayakul U, Theppisai H, Theppisai U. Effects and safety of Pueraria mirifica on lipid profiles and biochemical markers of bone turnover rates in healthy postmenopausal women. Menopause. 2008;15(3):530-5.
  3. Kakehashi A, Yoshida M, Tago Y, Ishii N, Okuno T, Gi M, et al. Pueraria mirifica exerts estrogenic effects in the mammary gland and uterus and promotes mammary carcinogenesis in Donryu rats. Toxins (Basel). 2016;8(11):275.
  4. Wang D, Qiu L, Wu X, Wei H, Xu F. Evaluation of kudzu root extract-induced hepatotoxicity. J Ethnopharmacol. 2015;176:321-6.
  5. Lexicomp® Drug Interactions
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154628